บทที่3 วิธีอ่านโน้ตเปียโนเบื้องต้น

วิธีอ่านโน้ตเปียโนเบื้องต้น


ดนตรีประกอบด้วยเสียง (Tone) หลายๆ เสียง มาต่อๆ กัน แต่ละเสียงมีระดับเสียงสูงต่ำและความยาวที่ต่างกัน เมื่อนำเสียงเหล่านั้นมาต่อๆ กันจึงได้เป็นเพลงออกมา ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของระดับเสียงกัน สำหรับเรื่องความยาวของเสียงได้พูดไว้ในบทเรียนเรื่อง จังหวะ ครับ

ระดับเสียง (Pitch) คือ ความแหลมหรือทุ้มของเสียง เสียงแหลมคือเสียงสูง เสียงทุ้มคือเสียงต่ำ ยกตัวอย่าง เช่น เสียงผู้หญิงมักจะสูงกว่าเสียงของผู้ชาย เสียงแก้วแตกเป็นเสียงที่สูง เป็นต้น สำหรับเปียโน คีย์ที่อยู่ด้านขวาจะให้เสียงที่สูงกว่าคีย์ที่อยู่ด้านซ้ายเสมอ เพราะฉะนั้นคีย์ซ้ายสุดบนเปียโนจะเป็นเสียงที่ต่ำที่สุด (ทวนความจำหน่อยนะครับว่า คีย์ซ้ายสุดของเปียโนคือตัว A-ลา) และคีย์ที่อยู่ขวาสุดจะเป็นเสียงที่สูงที่สุดของเปียโน (คีย์ขวาสุดของเปียโนคือตัว C-โด)

มาพิจารณาที่เพลงหนูมาลีของเรากัน ในเพลงนี้เราใช้ระดับเสียง 4 ระดับเสียง เรียกตามชื่อของคีย์เปียโนที่ใช้เล่นคือ C-โด, D-เร, E-มีและ G-ซอล (F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) ลองฟังเพลงหนูมาลีเทียบกับภาพนะครับ ในภาพผมจะเขียนเปรียบเทียบเสียงให้ดูง่ายๆ โดยถ้าเสียงสูงกว่าผมจะเขียนไว้สูงกว่า ส่วนเสียงต่ำกว่าผมจะเขียนไว้ต่ำกว่า ตัว G-ซอล จะมีระดับเสียงสูงที่สุด รองลงมาเป็นตัว E-มี (ตัว F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) รองลงมาเป็นตัวD-เร และต่ำสุดคือ C-โด ลองฟังแล้วสังเกตเปรียบเทียบความสูงต่ำของเสียงแต่ละเสียงนะครับ
เพลงหนูมาลี
ภาพแสดงเสียงสูง-ต่ำในเพลงหนูมาลี
ลองไปเล่นเพลงหนูมาลีใหม่นะครับ เพื่อฟังระดับเสียงที่สูงๆ ต่ำๆ ในเพลง และลองกดคีย์แต่ละคีย์บนเปียโนด้วย ลองฟังอย่างตั้งใจว่าเสียงตัว G-ซอล มีลักษณะอย่างไร เสียงตัว E-มี มีลักษณะเป็นอย่างไร รวมทั้งตัวอื่นๆ ด้วย และลองเปรียบเทียบกันว่าเสียงที่สูงกว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เสียงที่ต่ำกว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จะทำให้เราเข้าใจเรื่องระดับเสียง ได้ดียิ่งขึ้นครับ

การอ่านระดับเสียงจากตัวโน้ต เราจะดูตำแหน่งของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น โดยหากระดับเสียงยิ่งสูง โน้ตจะยิ่งอยู่สูง หากระดับเสียงยิ่งต่ำ โน้ตจะยิ่งอยู่ต่ำ การสังเกตว่าโน้ตอยู่สูงหรือต่ำ เราจะดูจากหัวของตัวโน้ตเป็นหลัก ส่วนหางของตัวโน้ตบางทีเราจะปัดขึ้นหรือปัดลงแล้วแต่ความเป็นระเบียบและความง่ายในการอ่าน ซึ่งไม่มีผลต่อระดับเสียง และในบทนี้ผมอาจจะใช้ตัวโน้ตหลายๆ แบบ เช่น โน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว หรือโน้ตตัวกลม แต่ให้เราสนใจเฉพาะหัวโน้ตเพื่อศึกษาเรื่องระดับเสียงเท่านั้น ยังไม่ต้องสนใจความยาวของตัวโน้ตนะครับเพราะในบทนี้เราจะพูดกันถึงระดับเสียงเท่านั้น (สำหรับเรื่องจังหวะและค่าความยาวของตัวโน้ตอ่านได้จากบทเรียนเรื่อง จังหวะ กับ ตัวโน้ต ครับ)

บรรทัดห้าเส้น (อังกฤษ-อังกฤษ Stave, อังกฤษ-อเมริกิน Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Stave, Staff))
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับบรรทัดห้าเส้นกันก่อน โดยบรรทัดห้าเส้นก็แปลตามตัวเลยครับ ก็คือ เส้นห้าเส้น เรียงขนานกัน ระยะห่างแต่ละเส้นเท่ากัน โดยเราจะเรียกเส้นล่างสุดคือเส้นเบอร์ 1 สูงขึ้นไปคือ เส้นเบอร์ 2 3 4และ 5 ตามลำดับ โดยเส้นภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Line ช่องว่างระหว่างเส้นเราจะเรียกว่า ช่อง (space) ช่องระหว่างเส้นเบอร์ 1 และเส้นเบอร์ 2 เราจะเรียกว่าช่องเบอร์ 1 ไล่ขึ้นไปเป็นช่องเบอร์ 2 3 และ 4 ตามลำดับ
การเขียนโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น สามารถเขียนได้ 2 แบบคือ
เขียนทับเส้น ดังตัวอย่างข้างล่างนี้นะครับ


โน้ตเส้น (Line note)โน้ตที่เขียนทับเส้นเราเรียกว่า โน้ตเส้น (Line Note)

                                                                               



       โน้ตที่เขียนอยู่ระหว่างเส้น เราเรียกว่า โน้ตช่อง (Space Note)


ในกรณีที่เราต้องการโน้ตที่สูงหรือต่ำเกินบรรทัดห้าเส้นออกไป เราสามารถขีดเส้นเพิ่มได้ โดยเราจะเรียกว่า เส้นน้อย (Leger Line) แต่การเขียนโน้ตที่เลยออกไปก็ยังต้องอยู่บนพื้นฐานของ โน้ตเส้น และโน้ตช่อง ครับ นี่คือตัวอย่าง





โน้ตเหนือบรรทัดห้าเส้น


 




โน้ตใต้บรรทัดห้าเส้น



กฎการอ่านโน้ต
อย่างที่เคยบอกไว้แล้วว่า โน้ต 1 ตัว แทนเสียง 1 เสียง ความยาวของเสียงดูได้จากลักษณะของตัวโน้ตว่าเป็นโน้ตแบบไหน เช่น โน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว โน้ตตัวกลม เป็นต้น (หากลืม ทบทวนได้จากบท จังหวะ และ ตัวโน้ต ครับ) ส่วนการดูระดับเสียงของตัวโน้ต ดูได้จากตำแหน่งของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น โดยในการอ่านโน้ตมีกฎอยู่4 ข้อดังนี้ครับ

กฎข้อที่ 1 อ่านโน้ตจากซ้ายไปขวา
เหมือนการอ่านหนังสือ การอ่านโน้ตเราจะอ่านจากซ้ายไปขวา เมื่อจบแถวก็ขึ้นบรรทัดใหม่และอ่านจากซ้ายไปขวาเช่นเดิมไปเรื่อยๆ จนจบเพลง

กฎข้อที่ 2 ยิ่งสูงยิ่งไปทางขวา ยิ่งต่ำยิ่งไปทางซ้าย
ยิ่งสูงยิ่งไปทางขวา แปลว่า โน้ตยิ่งอยู่สูงบนบรรทัดห้าเส้น เสียงจะยิ่งสูงและคีย์ที่เราจะกดบนเปียโนยิ่งอยู่ทางขวา
 ยิ่งต่ำยิ่งไปทางซ้าย แปลว่า โน้ตยิ่งอยู่ต่ำบนบรรทัดห้าเส้น เสียงจะยิ่งต่ำและคีย์ที่เราจะกดบนเปียโนยิ่งอยู่ทางซ้าย
                                      




      ยิ่งสูงยิ่งไปทางขวา





   
ยิ่งต่ำยิ่งไปทางซ้าย









กฎข้อที่ 3 โน้ตขยับครึ่งช่อง เท่ากับขยับ 1 คีย์เปียโน
การขยับขึ้นหรือลงของตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น จะขยับทีละครึ่งช่องต่อหนึ่งคีย์ ยกตัวอย่างเช่นหากเรามีโน้ตช่องเบอร์ 2 และโน้ตตัวต่อไปขยับขึ้นไปเป็นโน้ตเส้นเบอร์ 3 โน้ตตัวที่สองเมื่อเทียบกับตัวแรกจะเป็นการขยับคีย์เปียโนไปทางขวาหนึ่งคีย์ และในทางกลับกันหากโน้ตขยับลงครึ่งช่อง จะเป็นการขยับไปทางซ้าย 1 คีย์


ขยับขึ้นทีละ 1 คีย์






ขยับลงทีละ 1 คีย์







NOTE : หากโน้ตขยับจากช่องไปช่อง หรือขยับจากเส้นไปเส้น จะเป็นการกระโดดข้ามคีย์ไป 1 คีย์



กฎข้อที่ 4 กุญแจต่างกัน อ่านโน้ตต่างกัน
เราได้เรียนรู้จากกฎข้อที่ 3 แล้วว่าการขยับโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น เราจะขยับทีละครึ่งช่องต่อหนึ่งคีย์ เพราะฉะนั้น หากคิดเล่นๆ ให้เราลองนับจากโน้ตเส้นเบอร์ 1 หรือเส้นล่างสุด ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงโน้ตเส้นเบอร์ 5 หรือก็คือเส้นบนสุดบนบรรทัดห้าเส้น จะมีโน้ตได้ทั้งหมดกี่ตัวคำตอบคือ 9 ตัว นั่นหมายความว่า เราแทนคีย์บนเปียโนได้9 คีย์ จากโน้ตบนบรรทัดห้าเส้น (ไม่รวมเส้นน้อย)

 โน้ตเก้าตัวกับคีย์เก้าคีย์
แต่เปียโนมีถึง 52 คีย์ (นับเฉพาะสีขาว) ประกอบกับเวลาเราเล่นเปียโน เราเล่นด้วยมือสองมือและทั้งสองมือเล่นอยู่บริเวณที่แตกต่างกัน หากเทียบกับ Middle C-โด มือขวามักจะเล่นอยู่สูงกว่า Middle C-โด ส่วนมือซ้ายมักจะเล่นอยู่ต่ำกว่า Middle C-โด ดังรูปข้างล่างนี้ครับ
ใช้การอ่านโน้ต 2 แบบที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมคีย์เปียโนมากยิ่งขึ้น สำหรับมือซ้ายและมือขวา



ดังนั้นเราจะใช้การอ่านโน้ตที่แตกต่างกันสองแบบ เพื่อให้ครอบคลุมคีย์ที่เราจะเล่นมากยิ่งขึ้น โดยแบบนึงจะครอบคลุมโน้ตเสียงสูงที่เล่นด้วยมือขวา และอีกแบบนึงสำหรับโน้ตที่เสียงต่ำกว่าและเล่นด้วยมือซ้าย

โดยการอ่านโน้ตแบบแรกสำหรับมือขวานั้น เมื่อเทียบ Middle C-โดบนเปียโนกับตัวโน้ตที่จะเขียนบนบรรทัดห้าเส้น จะได้โน้ตที่อยู่ด้านล่าง เพื่อให้โน้ตที่สูงขึ้นๆ ไป เขียนกระจายอยู่บนบรรทัดห้าเส้น และสำหรับการอ่านโน้ตอีกแบบที่ใช้โดยมือซ้าย ตัว Middle C-โด จะเขียนได้เป็นโน้ตที่อยู่ด้านบนของบรรทัดห้าเส้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ให้โน้ตที่ต่ำลงไปเขียนอยู่บนบรรทัดห้าเส้น

ในการระบุว่าเรากำลังอ่านโน้ตแบบแรกหรือแบบที่สองนั้น เราจะใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า กุญแจ เขียนไว้หน้าสุดของบรรทัดห้าเส้น โดยเราจะใช้ กุญแจซอลสำหรับโน้ตเสียงที่สูงกว่าและมักเล่นด้วยมือขวา กับกุญแจฟาสำหรับเสียงที่ต่ำกว่าและเล่นด้วยมือซ้าย ซึ่งเราจะไปดูในรายละเอียดของการอ่านโน้ตทั้งสองแบบกันต่อเลยครับ


การอ่านโน้ตกุญแจซอล (Treble Clef)
                                                                                 การอ่านโน้ตกุญแจซอล
                 ในการอ่านโน้ต เราต้องจำตำแหน่งของคีย์เปียโนกับตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นให้ได้อย่างน้อยหนึ่งตัวก่อน เพราะไม่เช่นนั้นเราจะไม่รู้เลยว่าคีย์เปียโนแต่ละคีย์ตรงกับโน้ตตัวใด เมื่อเราจำได้อย่างน้อยหนึ่งตัว ตัวที่เหลือที่เรายังจำไม่ได้ เราก็ยังสามารถใช้วิธีนับขึ้นหรือนับลงตามกฎข้อที่ 3 ของการอ่านโน้ตได้ แต่ในทางปฎิบัติการที่เราจำโน้ตแต่ละตัวกับคีย์แต่ละคีย์บนเปียโนให้ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องไล่จะเป็นการดีมาก เพราะจะทำให้เราอ่านโน้ตได้เร็วมาก ซึ่งเราต้องค่อยๆ ฝึกกันต่อไป สำหรับตอนนี้เรามาจำจุดอ้างอิงให้ได้ที่นึงก่อนครับ ซึ่ง วิธีจำที่ง่ายที่สุดมีสองแบบคือ
1.จำตำแหน่งของ Middle C-โด
ดังรูปด้านบนนี้เลยนะครับ สังเกตนะครับว่า ตัวโน้ตของ Middle C-โด สำหรับกุญแจซอลจะอยู่ใต้บรรทัดห้าเส้น
2.จำตำแหน่งของตัว G-ซอล เทียบกับกุญแจซอล
                               วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะกุญแจซอลมีลักษณะคล้ายตัว ทำให้เราจดจำได้ง่าย

                                                     การจำตำแหน่งของตัว G-ซอล สำหรับกุญแจซอล
เมื่อเราจำได้แล้วอย่างน้อยหนึ่งตัว ตัวที่เหลือเราก็ไล่ขึ้นหรือไล่ลงจากตัวที่เราจำได้ ได้เลยครับ

การอ่านโน้ตกุญแจฟา (Bass Clef)
 
                                                            การอ่านโน้ตกุญแจฟา
เราต้องจำตำแหน่งของคีย์เปียโนกับตัวโน้ตบนบรรทัดห้าเส้นให้ได้อย่างน้อยหนึ่งตัวก่อน โดยวิธีจำที่ง่ายที่สุดมีสองแบบเช่นกัน คือ

1.จำตำแหน่งของ Middle C-โด
ดังรูปด้านบนนี้เลยนะครับ สังเกตนะครับว่า ตัวโน้ตของ Middle C-โด สำหรับกุญแจฟาจะอยู่เหนือบรรทัดห้าเส้น
2.จำตำแหน่งของตัว F-ฟา เทียบกับกุญแจฟา
วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะกุญแจฟา(เค้าว่ากันว่า)มีลักษณะคล้ายตัว ครับ เหอๆๆ
                                             การจำตำแหน่งของตัว F-ฟา สำหรับกุญแจฟา

ตัวที่เหลือ ถ้ายังจำไม่ได้ ก็ใช้วิธีไล่ขึ้นหรือไล่ลงจากตัวที่เราจำได้ไปก่อนครับ



NOTE : อย่าลืมว่าโน้ตกุญแจซอลและกุญแจฟาจะอยู่คนละบริเวณกันบนเปียโน โดยโน้ตกุญแจซอลจะอยู่สูงกว่า Middle C-โด แต่กุญแจฟาจะอยู่ต่ำกว่า ในบางครั้งเราจะเผลอกดผิดที่ เช่น ตัว บนเส้น ของกุญแจฟาจะต้องอยู่ต่ำกว่า Middle C-โด ส่วนตัว บนช่อง ของกุญแจซอลจะอยู่สูงกว่า Middle C-โด ซึ่งบางครั้งเราไปกดตัวเดียวกัน ผมแนะนำให้เราอ้างอิงเทียบกับตัว Middle C-โด เสมอครับ กดไม่ผิดชัวร์!

                            เวลาเราเล่นเปียโน เราจะเล่นสองมือไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นโน้ตเปียโนจะประกอบด้วยสองแถว แถวบนสำหรับมือขวาและแถวล่างสำหรับมือซ้าย และจากที่เราได้เรียนรู้มาแล้วว่ากุญแจซอลมักจะใช้กับมือขวา ส่วนกุญแจฟามักจะใช้กับมือซ้าย ดังนั้นเราจะเห็นว่าแถวบนจะเป็นกุญแจซอลและแถวล่างเป็นกุญแจฟา (ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเราเรียนต่อไป แต่ในขั้นนี้ให้เราทำความคุ้นเคยกับแบบง่ายๆ นี้ให้เข้าใจก่อนครับ)

Grand Stave
ด้านหน้าของบรรทัดห้าเส้นทั้งสองแถวจะมีวงเล็บปีกกาครอบทั้งสองแถวรวมกันไว้ เป็นการบอกว่าสองแถวนี้อ่านโน้ตไปพร้อมกัน แต่ละแถวของบรรทัดห้าเส้นจะมีกุญแจ (Clef) เขียนไว้ หลังจากนั้นตามด้วย Time Signature การกั้นห้องก็จะกั้นทั้งสองแถวพร้อมกัน และจบเพลงก็จะจบพร้อมกัน เนื่องจากบีทที่ใช้นับจังหวะสำหรับทั้งสองแถวเป็นบีทเดียวกัน การรวมกันของบรรทัดห้าเส้นทั้งสองแถวแบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Grand stave

                เมื่อเราอ่านโน้ตเปียโนสำหรับสองมือ เราควรตรวจสอบตำแหน่งของตัวโน้ตที่เราอ่านจากทั้งสองกุญแจเสมอ โดยเทียบกับตัว Middle C-โด บนเปียโน ซึ่งจะช่วยให้เราไม่งงตำแหน่ง ดังรูปด้านล่างนี้ครับ

นี่คือตัวอย่างโน้ตเปียโนสำหรับเพลงหนูมาลีของเรา ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่เราได้เรียนไปแล้ว ดังนี้




1.โน้ตเพลงหนูมาลีสำหรับเล่นด้วยมือขวา
2.บรรทัดห้าเส้นสองแถวที่ผูกกันไว้ด้วยวงเล็บปีกกา (Grand stave)
3.กุญแจซอล (Treble clef) ที่แถวบน
4.กุญแจฟา (Bass clef) ที่แถวล่าง
5.เครื่องหมายประจำจังหวะ (Time signature) 4/4 ทั้งสองแถว
6.ตัวโน้ตที่เขียนตามจังหวะ (rhythm) โดยใช้โน้ตตัวดำ ตัวขาว และตัวกลม
7.ระดับเสียงของตัวโน้ต (pitch) สูงต่ำบนบรรทัดห้าเส้น
8.เส้นกั้นห้อง (bar line) กั้นทุกๆ 4 บีทและบีทแรกของห้องเป็นบีทหนัก
9.เส้นคู่ (Double line) สำหรับบอกว่าจบเพลง


ที่มา : http://pianoanan.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น