บทที่1 ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีสากล

ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีสากล


การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้ แทนเสียง เช่น ก,,,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง(Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ต เพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรี ผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่างๆนั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรี


ตัวโน้ตดนตรี
ตัวหยุดหรือเครื่องหมายพักเสียง
การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน้ตและตัวหยุด
ระดับเสียง
เครื่องหมายแปลงเสียง
กุญแจประจำหลัก






  ตัวโน้ตดนตรี




เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดยกีโด เดอ อเรซ์โซ บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและ ใช้กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น–ยาว, สูง-ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี(Music Notation) พอสังเขปดังนี้






จากข้างต้นสามารธอธิบายได้ว่า
โน้ตตัวกลม1ตัว ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัว ได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว


หมายเหตุ
1.การเขียนโน้ตตัวเขบ็ตตั้งแต่สองตัวติดกันขึ้นไปเรามักเขียนโดยนำชายธง(flag)มารวมกันโดยใช้เส้นตรงเช่น
\


2.การเขียนโน้ตตัวดำ,ตัวขาวและตัวเขบ็ต ให้พึงสังเกตเสมอว่าถ้าหางของตัวโน้ตชี้ขึ้นหางอยู่ทางด้านขวา แต่ถ้าหางชี้ลงหางจะลงทางซ้ายมือ สำหรับโน้ตตัวเขบ็ตหางจะชี้ขึ้นหรือลงชายธงอยู่ทางด้ายขวาเสมอ


3. การที่จะกำหนดให้ตัวโน้ตหางชี้ขึ้นหรือลงให้ยึดเส้นที่3ของ บรรทัด5เส้น(Staff)เป็นหลัก กล่าวคือตัวโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3และต่ำลงมาหางตัวโน้ตจะต้องชี้ขึ้น ส่วนโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3หรือสูงขึ้นไปหางตัวโน้ตจะต้องชี้ลง สำหรับโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3เองนั้นหางจะขึ้นหรือลงก็ได้ให้ยึดตัวโน้ตที่ อยู่ภายในห้องหรือโน้ตที่อยู่ข้างเคียงเป็นหลัก ดังตัวอย่าง



ตัวหยุด หรือเครื่องหมายพักเสียง


การบรรเลงดนตรีหรือการร้องเพลง ในบทเพลงใดบทเพลงหนึ่งต้องมีบางตอนที่หยุดไปการหยุดนั้นอาจเป็น 4,3,2…จังหวะ หรืออาจมาก–น้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับผู้แต่ง การบันทึกตัวหยุดนั้นได้กำหนดเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกันตัวโน้ต ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า “ตัวหยุด” (Rest)หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเงียบเสียงดนตรีหรือเสียงร้องแต่อัตรา จังหวะยังคงดำเนินไปตลอด ตัวหยุดจะถูกเขียนลงบนบรรทัด5เส้น เช่นเดียวกับตัวโน้ต มีลักษณะต่างกันดังนี้



การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน้ตและตัวหยุด


โดยปกติอัตราจังหวะของตัวโน้ตมีค่าผันแปรตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะดัง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขีดจำกัดของอัตราจังหวะที่ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จึงต้องมีวิธีการเพิ่มจังหวะให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสันของทำนองเพลงด้วยการเพิ่มอัตราจังหวะมีหลายวิธีดัง นี้
การโยงเสียง(Ties)
การเพิ่มอัตราจังหวะโดยการใช้เสียงโยงเสียงที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ใช้กับตัวโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเดียวกันเท่านั้น ใช้ได้ 2 กรณี คือ ใช้โยงเสียงตัวโน้ตภายในห้องเดียวกันหรือโยงเสียงต่างห้องก็ได้ มีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายบวก (+) การเขียนเส้นโยงเสียงให้เขียนเส้นโยงที่ตำแหน่งหัวตัวโน้ต ส่วนตัวหยุดไม่ต้องใช้เครื่องหมายโยงเสียง เช่น

หมายเหตุ
มีเครื่องหมายอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายกับการโยงเสียง คือเครื่องหมายสเลอ (Slur)เครื่องหมายสเลอเป็นเส้นโค้งมีไว้สำหรับเชื่อมกลุ่มตัวโน้ตที่ต่าง ระดับกันหรือคนละเสียงเพียงเพื่อต้องการให้เล่นโน้ตที่มีเครื่องหมายสเลอนี้ คล่อมอยู่ให้เสียงต่อเนื่องกัน
การประจุด(Dots)
เป็นเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด(.)เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัว โน้ตตัวที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ จุด(.)ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้ว รวมกันเช่น
** ถ้ามีจุดสองจุด จุดตัวหลังจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก


การเปรียบเทียบระหว่างตัวโน้ตประจุดและตัวหยุดตัวหยุดประจุด
เครื่องหมายตาไก่หรือศูนย์ (Fermata)
เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า “ตาไก่” ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออก ตามความพอใจ การเขียนเครื่องหมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม




ระดับเสียง


ด้วยการบันทึกโน้ตทางดนตรีเราสามารถทำให้เราทราบถึงระดับเสียง(Pith) หรือความแตกต่างของเสียงที่แน่นอนได้ ในการบันทึกเสียงโดยใช้บรรทัด5เส้น(Staff)ซึ่งจะแสดงให้เห็นความสูงต่ำของ เสียงชัดเจน โดยการวางตัวโน้ตต่างๆไว้บนบรรทัด5เส้น ซึ่งประกอบด้วย เส้น5เส้น 4 ช่องดังนี้
ภาพแสดงบรรทัด 5 เส้น (Staff)
จากบรรทัด 5 เส้น (Staff) ข้างต้นซึ่งหมายถึงเส้นตรง 5 เส้น ที่ลากขนานกันในแนวนอนเราสามารถจำแนกระดับเสียงสูง–ต่ำ ได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ดังนี้
จากข้างต้นเราจะเห็นว่ามีตัวโน้ตที่บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เสียงมีเพียง 11 ตัวโน้ตหรือ 11เสียงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วผู้ประพันธ์เพลงหรือคีตกวีต่าง ๆ ได้เขียนเพลงซึ่งต้องมีระดับเสียงที่สูงหรือต่ำกว่าโน้ตทั้ง 11 ตัวดังกล่าวแน่นอน เพื่อให้การบันทึกเสียงตัวโน้ตดนตรีได้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประพันธ์ เพลงก็จึงได้มีการคิดวิธีการที่จะทำให้การบันทึกโน้ตได้มากขึ้นจึงใช้ “เส้นน้อย” (ledger line) มาบันทึกโดยวิธีการขีดเส้นตรงทับตัวโน้ตและให้ตัวโน้ตอยู่ระหว่างช่องจึงทำ ให้เสียงนั้นสูง – ต่ำได้ตามต้องการ ดังตัวอย่าง
ภาพแสดงเส้นน้อย(ledger lines)
จากข้างต้นที่กล่าวมาเป็นส่วนที่เกี่ยวกับตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ต และตำแหน่งที่อยู่ของตัวโน้ตเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอที่เราจะระบุได้ว่าโน้ตตัวนั้น ๆ มีระดับเสียงชื่อว่าอะไรมีความสูงต่ำระดับใด จึงได้มีการกำหนดกุญแจประจำหลักขึ้นเพื่อที่ใช้เป็นตัวระบุชื่อของตัวโน้ต ได้


เครื่องหมายแปลงเสียง


เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน้ตหรือหลังกุญแจ ประจำหลักเมื่อต้องการแปลงเสียงให้สูงขึ้น ต่ำลง หรือกลับมาเป็นเสียงปกติเหมือนเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงประกอบด้วย 5 ชนิด คือ


1. เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้น ½ เสียง (semitone) เช่น


2. เครื่องหมายแฟล็ท (Flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงต่ำหรือลดลง ½ เสียง (semitone) เช่น


3. เครื่องหมายเนเจอรัล (Natural) ไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง ½ เสียง (semitone) ให้กลับมาเป็นเสียงปกติ เช่น


4. เครื่องหมายดับเบิ้ลชาร์ป (double sharp) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม (tone) เช่น

5. เครื่องหมายดับเบิ้ลแฟล็ท (Double flat) มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับต่ำลงสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม เช่น


หมายเหตุ
-การเขียนเครื่องหมายแปลงเสียงทั้ง 5 ชนิดนี้ ต้องเขียนกำกับไว้หน้าและตำแหน่ง เดียวกันกับตัวโน้ต เช่น ตัวโน้ตคาบอยู่บนเส้นที่ 2 เครื่องหมายแปลงเสียงต้องอยู่หน้าตัวโน้ตบนเส้นที่ 2 เช่นกัน
-เครื่องหมายแปลงเสียงมีผลบังคับตัวโน้ตนั้น ๆ ภายใน 1 ห้องเพลงเท่านั้นยกเว้น เขียนกำกับไว้หลังกุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก


กุญแจประจำหลัก (Clef) ถือว่าเป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่สำคัญ เพื่อใช้ในการกำหนดหรือบงชี้ว่าตัวโน้ตแต่ละตัวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวถึงกุญแจประจำหลักที่สำคัญเพียง 2 กุญแจเท่านั้น คือ กุญแจประจำหลัก G (G Clef) และกุญแจประจำหลัก F (F Clef) ซึ่งทั้ง 2 กุญแจ มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปรากฎให้เห็นและใช้กันจนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 กุญแจนี้มักเรียกกันสั้น ๆ จนติดปากว่า กุญแจซอล และกุญแจฟา
1. กุญแจซอล
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจซอล” ในการเขียนกุญแจซอลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ซอล” ดังตัวอย่าง


\
โดยปกติแล้วในทางดนตรีได้มีนักปราชญ์ทางดนตรีได้กำหนดชื่อเรียกระดับ เสียงตัวโน้ตและได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเรียงจากระดับเสียงต่ำไปหาสูง 7 เสียงดังนี้ C D E F G A B C ไม่ว่าระดับเสียงจะสูงหรือต่ำก็คงมีชื่อกำกับเพียง 7 เสียงหลัก ๆ เท่านั้น เพียงแต่การบันทึกโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น เสียงที่เรียกชื่อเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกันเรียกว่ามีระยะขั้นคู่แปดระดับเสียงที่ต่างกันเราเรียก ว่า “อ๊อคเทฟ” (Octave)
จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของกุญแจซอลคือตัว “ซอล” แล้ว เราสามารถทราบชื่อโน้ตตัวอื่น ๆ ได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้
2. กุญแจฟา
เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่อง ดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับต่ำ ภาษาอังกฤษเรียก “เอฟ เคลฟ”(F Clef) หรือ “เบส เครฟ” (Bass Clef) โดยทั่ว ๆ ไปมักเรียกว่า “กุญแจฟา” ในการเขียนกุญแจฟาเขียนโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ฟา” ดังตัวอย่าง


จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียง สูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของกุญแจฟาคือตัว “ฟา” แล้วเราสามารถทราบชื่อโน้ตตัว อื่น ๆ ที่บันทึกด้วยกุญแจฟาได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้





นอกจากการบันทึกโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นที่แยกระหว่างกุญแจซอลกับกุญแจฟาแล้วยังมีการบันทึกโน้ตอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า “บรรทัดรวม” (Grand Staff) โดยการนำเอากุญแจซอลและกุญแจฟาบันทึกลงพร้อม ๆ กัน บรรทัดประเภทนี้มักใช้สำหรับการเขียนโน้ตให้เปียโนบรรเลง





ที่มา : http://ton2556.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น